ข้อมูลพื้นฐานเทศบาล
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
30 พฤศจิกายน 542

555


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลควนศรี

ประวัติ 
              เทศบาลตำบลควนศรี เป็นหน่วยงานราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดและกระทรวงมหาดไทย โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ และมติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง

โดยต่อมาได้ยกฐานะเป็น เทศบาลตำบลควนศรี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2556 โดยปัจจุบันมีนายธีระ โพธิ์เพชร ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรรี

ที่ตั้ง
              ตั้งอยู่ที่ ณ หมู่ที่ 2 ตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากอำเภอเมือง
สุราษฎร์ธานี 55 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 39 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 24,375 ไร่ มีหมู่บ้าน 8 หมู่บ้านได้แก่
              หมู่ที่ 1 บ้านควนมหาชัย
              หมู่ที่ 2 บ้านควนศรี 
              หมู่ที่ 3 บ้านโคกเหรียง
              หมู่ที่ 4 บ้านวังใหญ่ 
              หมู่ที่ 5 บ้านมอเก็ต
              หมู่ที่ 6 บ้านควนเนียง 
              หมู่ที่ 7 บ้านควนพรุพี
              หมู่ที่ 8 บ้านควนวัด
อาณาเขต                           
             ทิศเหนือ จด  ตำบลท่าชีและตำบลน้ำพุ 
             ทิศใต้   จด  อำเภอเวียงสระ
             ทิศตะวันออก จด ตำบลพรุพี
             ทิศตะวันตก จด ตำบลพ่วงพรมคร

ลักษณะภูมิประเทศ
             สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของเทศบาลตำบลควนศรี เป็นที่ราบ 1 ใน 2 ของพื้นที่ทั้งหมด มีแม่น้ำตาปีไหลผ่าน อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลาน้ำจืด ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดู คือฤดูฝนและฤดูแล้ง ในฤดูฝน ฝนตกชุก มีปริมาณมากจนทำให้เกิดน้ำท่วมในบางหมู่บ้าน ส่วนในฤดูแล้งอากาศร้อนอบอ้าว ทำให้บางพื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลควนศรี ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ในฤดูแล้ง

 

สภาพเศรษฐกิจ
30 พฤศจิกายน 542

328


สภาพเศรษฐกิจ 
       
       2.1
 อาชีพ
             ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 96.50 ของประชากรทั้งตำบล พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา เงาะ ทุเรียน และเพาะชำกล้าไม้ และร้อยละ 3.50 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ค้าขายและรับราชการ
       2.2 หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
            (1) ร้านอาหาร/ของชำ   จำนวน 29 แห่ง
            (2) ร้านอาหารอย่างเดียว   จำนวน   6 แห่ง
            (3) น้ำมันหลอดแก้ว   จำนวน 24 แห่ง
            (4) ร้านซ่อมรถยนต์/จักรยานยนต์  จำนวน   9 แห่ง
            (5) ร้านวัสดุก่อสร้าง   จำนวน   2 แห่ง
            (6) สถานที่รับซื้อน้ำยาง , ยางแผ่น  จำนวน   9 แห่ง
            (7) โรงแรม    จำนวน   3 แห่ง
            (8)โรงงานอุตสาหกรรม   จำนวน   2 แห่ง
            (9) สถานที่รับซื้อปาล์มน้ำมัน  จำนวน   2 แห่ง
       2.3 สังคม

3.การศึกษา

            (1) โรงเรียนประถมศึกษา      จำนวน 3 แห่ง
            (2) ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน  จำนวน 3 แห่ง
            (3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำตำบล     จำนวน 1 แห่ง

4.สถาบันและองค์กรทางศาสนา
           (1) วัด  จำนวน 1 แห่ง

5.การสาธารณสุขและเกษตร
           (1) สถานีอนามัยประจำตำบล   จำนวน 1 แห่ง
           (2) ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน   จำนวน 8 แห่ง
           (3) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร จำนวน 1 แห่ง
           (4) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                 ที่พักสายตรวจประจำตำบล  จำนวน 1 แห่ง

การศึกษา และวัฒนธรรม
30 พฤศจิกายน 542

293


3.การศึกษา
            (1) โรงเรียนประถมศึกษา      จำนวน 3 แห่ง
            (2) ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน  จำนวน 3 แห่ง
            (3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำตำบล     จำนวน 1 แห่ง

4.สถาบันและองค์กรทางศาสนา
           (1) วัด  จำนวน 1 แห่ง

5.การสาธารณสุขและเกษตร
           (1) สถานีอนามัยประจำตำบล   จำนวน 1 แห่ง
           (2) ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน   จำนวน 8 แห่ง
           (3) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร จำนวน 1 แห่ง
           (4) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                 ที่พักสายตรวจประจำตำบล  จำนวน 1 แห่ง

สาธารณสุขและเกษตร
30 พฤศจิกายน 542

273


5.การสาธารณสุขและเกษตร
           (1) สถานีอนามัยประจำตำบล   จำนวน 1 แห่ง
           (2) ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน   จำนวน 8 แห่ง
           (3) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร จำนวน 1 แห่ง
           (4) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                 ที่พักสายตรวจประจำตำบล  จำนวน 1 แห่ง

การบริการพื้นฐาน
30 พฤศจิกายน 542

315


การบริการพื้นฐาน
       
      6.1 การคมนาคม

             1. ทางหลวงแผ่นดิน  จำนวน    1 สาย
             2. ทางหลวงจังหวัด  จำนวน    1 สาย
             3. ถนนหมู่บ้าน   จำนวน 24 สาย
             4. ทางหลวงชนบท  จำนวน   2 สาย
      6.2 การไฟฟ้า  ไฟฟ้าเข้าถึงทั้ง 8 หมู่บ้าน
            1. หมู่ที่ 1 จำนวน 153 ครัวเรือน ไม่มีไฟฟ้าใช้ 10 ครัวเรือน
            2. หมู่ที่ 2 จำนวน 193 ครัวเรือน ไม่มีไฟฟ้าใช้   -  ครัวเรือน
            3. หมู่ที่ 3 จำนวน 105 ครัวเรือน ไม่มีไฟฟ้าใช้   -  ครัวเรือน
            4. หมู่ที่ 4 จำนวน 134 ครัวเรือน ไม่มีไฟฟ้าใช้   2 ครัวเรือน
            5. หมู่ที่ 5 จำนวน 130 ครัวเรือน ไม่มีไฟฟ้าใช้   4 ครัวเรือน
            6. หมู่ที่ 6 จำนวน  67  ครัวเรือน ไม่มีไฟฟ้าใช้   -  ครัวเรือน
            7. หมู่ที่ 7 จำนวน 221 ครัวเรือน ไม่มีไฟฟ้าใช้   8 ครัวเรือน
            8. หมู่ที่ 8 จำนวน 132 ครัวเรือน ไม่มีไฟฟ้าใช้   -  ครัวเรือน
      6.3 แหล่งน้ำธรรมชาติ
            1. ลำห้วย  จำนวน  2  สาย
            2. หนองน้ำ  จำนวน  6  แห่ง
            3. คลอง  จำนวน  4  สาย
            4. แม่น้ำ  จำนวน  1  สาย
     6.4 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
           1. ประปาหมู่บ้าน  จำนวน 4 แห่ง
           2. ฝาย    จำนวน 2 แห่ง
           3. บ่อน้ำตื้นสาธารณะ  จำนวน 2 แห่ง
           4. บ่อบาดาล   จำนวน 17 แห่ง

ข้อมูลอื่นๆ
30 พฤศจิกายน 542

342


ข้อมูลอื่นๆ
          
     7.1 มวลชนจัดตั้ง
          1. ลูกเสือชาวบ้าน 3 รุ่น   จำนวน 1,000 คน
          2. ไทยอาสาป้องกันชาติ 1 รุ่น  จำนวน    120 คน
          3. กลุ่มสตรี 2 รุ่น   จำนวน       8 หมู่บ้าน
          4. กลุ่มออมทรัพย์ 8 หมู่บ้าน  จำนวน       8 กลุ่ม
          5. อสม. 1 รุ่น    จำนวน 78  คน

   สถานที่สำคัญ 
           1. วัดควนศรี ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพ่อท่านคงแก้ว เป็นที่นับถือของชาวตำบลควนศรี และประชาชนทั่วไป 
           2. ริมฝั่งแม่น้ำตาปี เป็นแหล่งท่องเที่ยวของท้องถิ่น และเป็นแหล่งทำประมงของชาว ม.5 บ้านมอเก็ต

   ประชากร         

 สถิติข้อมูลประชากร ปี 2551  (size 33.0 kb)           

 

บทบาทหน้าที่ของ เทศบาลตำบลควนศรี
30 พฤศจิกายน 542

341


บทบาทหน้าที่ของ  เทศบาลตำบลควนศรี

        (1)  จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
        (2)  รักษาความสะอาดของถนน  ทางน้ำ  ทางเดิน  และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล
        (3)  ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
        (4)  ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
        (5)  ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
        (6)  ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
        (7)  คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        (8)  บำรุงรักษาศิลปะ  จารีตประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
        (9)  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย  โดยจัดสรรงบประมาณ หรือบุคลากรให้ตามความจำเป็น และสมควร